สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ขอเชิญชมดนตรีในสวน ทุกวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 17.30 – 19.00 น. เริ่ม 8 มกราคมนี้ ณ สวนหลวงพระราม 8
ดนตรีในสวน เป็นการแสดงดนตรีในสวนหลวงพระราม 8 เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ แสดงทั้งหมด 6 ครั้ง ได้แก่ วันอาทิตย์ที่ 8, 15, 22, 29 มกราคม 2566 วันที่ 5 และ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นการแสดงของวงดนตรีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย วงสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา วงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร วงดุริยางค์ทัพบก วงไทยซิมโฟนี และวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพมหานคร ซึ่งครั้งนี้จะเป็นการยกระดับการแสดงให้มีคุณภาพมากขึ้น และเปลี่ยนภาพลักษณ์ของดนตรีในสวน โดยเป็นการแสดงบทเพลงรักชาติ เพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ชาติ เพลงสัญลักษณ์ชาติ เพลงดังเพลงดีของครูเพลงที่เสียชีวิตไปแล้ว อาทิ เพลงปลุกใจ เพลงหลวงวิจิตรวาทการ หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ พระเจนดุริยางค์ ครูไพบูลย์ บุตรขัน สุรพล สมบัติเจริญ ทูลกระหม่อมบริพัตร จิตร ภูมิศักดิ์ โดยแต่ละวงให้เรียบเรียงเพลงอย่างสุดฝีมือ ซึ่งเป็นความร่วมมือของสถาบันกัลยาณิวัฒนา กรุงเทพมหานคร และมูลนิธิสุกรี เจริญสุข
วันอาทิตย์ เวลา 17.30-19.00 น. ณ สวนหลวงพระราม 8 (บริเวณหน้าสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาติดกับสวนสะพานพระราม 8)
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566
“เพลงของพ่อ”
วงดนตรีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
เพลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เพลงทูลกระหม่อมบริพัตร
วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566
“เพลงครู”
วงดุริยางค์เครื่องลมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพลงของหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เมื่อไหร่จะได้พบ ไม่อยากจากเธอ คนึงครวญ สิ้นรักสิ้นสุข
เพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน
มนต์เมืองเหนือ ค่าน้ำนม โลกนี้คือละคร มนต์รักลูกทุ่ง ฝนเดือนหก กลิ่นโคลนสาปควาย ชายสามโบสถ์ น้ำตาเทียน เพชรร่วงในสลัม ฝนซาฟ้าใส บุพเพสันนิวาส มนต์รักแม่กลอง ยมบาลเจ้าขา หนุ่มเรือนแพ
เพลงที่เป็นต้นแบบของเพลงยุคหลัง หรือเพลงที่อมตะจนถึงปัจจุบัน
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566
“เพลงรักชาติ”
วงดุริยางค์ทหารบก
เพลงสำคัญของกองทัพไทย สยามานุสติ ไทยสามัคคี นักรบ (ครูนารถ ถาวรบุตร) ทหารของชาติ รักชาติ สามัคคีสี่เหล่า ไทยไม่ทำลายไทย มหาอาณาจักรไทย มาร์ชกองทัพบก
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566
“เพลงชาวบ้าน”
วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตรา
เพลงชาวบ้าน เพลงขอม เครือญาติ สาวสุโขทัย คนไทย กาเหว่า เหน่อ สิบสองภาษา สาวมอร์เตอร์ไซค์ รุ้งพระจันทร์ โยสลัม แขกกะเร็งการเกด วักโบสถ์ บูบู ทะเลชีวิต แสงดาวแห่งศรัทธา สุดใจ สายสมร เทพบันเทิง Ave Maria, Song to the Moon, Nessun Dorma, O sole mio, Laudate Dominum ลาวแพนน้อยออกซุ้ม ค้างคาวกินกล้วย (ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เดี่ยวขลุ่ย)
วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
“เพลงมรดกของชาติ”
วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
เพลงชาติ (ฉบับขุนวิจิตรมาตราและนายฉันท์ ขำวิไล) ชุมนุมเผ่าไทย ตื่นเถิดชาวไทย แผ่นดินของเรา บ้านเรา ใต้ร่มธงไทย บ้านเกิดเมืองนอน รู้รักสามัคคี ไทยรวมกำลัง รักเมืองไทย สามัคคีชุมนุม รักกันไว้เถิด เพลงของพระเจนดุริยางค์
วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
“เพลงแห่งความรัก”
วงดุริยางค์กรุงเทพมหานคร
เพลงรักจากบทพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพลงรักของคนไทย
เพลงรักของครูไพบูลย์ บุตรขัน ขลุ่ยครวญรัก ความรักเจ้าขา ขี่เหร่ก็รัก ขวัญใจคนจน ความเอ๋ยความจน คนอาภัพ คอยเธอที่ป้ายรถเมล์ คอยเนื้อคู่ คนจนคนจร คิดถึงบ้างไหม ความรักครั้งสุดท้าย ฆ่าฉันเสียเถิดที่รัก เจ้าน้ำตา เจ็บขั้วหัวใจ ทาสทรมาน น้ำค้างเดือนหก น้ำลงนกร้อง น้ำลงเดือนยี่ บุษบารำพันรัก บุหงาลนไฟ บ้านสาวโสด บูชารัก ผัดหนี้ ผมรักคุณแล้ว ผู้ครองใจ แผลหัวใจ ผู้ผิดหวัง แม้พี่นี้จะขี้เมา รักแล้วต้องรอ ลานรักลั่นทม มีแฟนหรือยัง รักคนแก่ดีกว่า รักเธอหมดหัวใจ รักเขาข้างเดียว รักแล้วต้องรอ เสียงกระซิบสั่ง สามหัวใจ หัวใจกู่รัก หนุ่มนาตามนาง หนุ่มเรือนแพ หัวใจพเนจร อยากกินคนสวย อยู่กับดิน อันเป็นดวงใจ