เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะ (ปปณ.) ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงศาสตราจารย์คลินิก สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า จากกรณีที่สองบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่"ทรู" และ "ดีแทค" จะดำเนินการควบรวมกิจการ และร่วมจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยี คอมปานีในระดับภูมิภาคท่ามกลางกระแสวิพากษ์จากนักวิชาการในทุกภาคส่วน ภาคประชาชน และองค์กรผู้บริโภค ที่ต่างแสดงความเป็นกังวลการควบรวมกิจการที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับประชาชนผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะ
เนื่องจาก ข้อมูลจากการศึกษาของ กสทช.เองระบุว่าในปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 141 ล้านเลขหมายโดยมีผู้ใช้บริการผ่าน 3 ผู้ให้บริการรายใหญ่ คือ เอไอเอส ทรูและ ดีแทค จำนวน 132 ล้านเลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงถึงร้อยละ 93 จึงทำให้ตั้ง3 รายจัดเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือตลาด ดังนั้น หากมีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่อันดับ 2 และ 3 จะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ สุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นตลาด Duopoly ที่มีผู้ให้บริการผูกขาดเหลือยู่เพียง 2 รายอย่างถาวร ผู้บริโกคมีแนวโน้มจะถูกเอาเปรียบ ไม่มีหนทางเลือก และท้ายที่สุดอัตราค่าบริการมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
ขณะเดียวกัน ผลศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้ว่าจ้างให้ดำเนินการศึกษาเพิ่มเดิมล่าสุด มีการรายงานเป็นเอกสารยืนยันเช่นกันว่า หากผู้เล่นในตลาดลดลงจาก 3 รายเหลือเพียง 2 ราย โดยทั้ง 2 รายเป็นรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกว่า45% ก็มีความเป็นไปได้ว่า ค่าบริการในระยะยาวจะแพงขึ้น 20-30% เพราะผู้บริโภคไม่มีทางเลือกในการใช้งาน
ก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคได้บทเรียนอันบอบช้ำจากการที่หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าได้ปล่อยให้มีการควบรวมธุรกิจค้าปลีก- ค้ารายใหญ่ของประเทศ จนทำให้กลุ่มทุนยักษ์ค้าปลีก-ค้าส่งของประเทศสามารถกุมอำนาจเหนือตลาดใด้อย่างเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ตันน้ำยันปลายน้ำ ทำให้ปัจจุบันประชาชนคนไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตราคาสินค้าข้าวของแพงทั้งแผ่นดินเพราะตลาดค้าปลีก-ค้าส่งถูกผูกขาดปราศจากการแข่งขัน
โดยที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนต่างคาดหวังว่ากสทช.ชุดใหม่จะเข้ามาปฏิรูปบทบาท อำนาจหน้าที่ขององค์กร กสทช. ในการเป็นองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจารโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากการ ชี้นำหรือครอบงำขององค์กร หรือกลุ่มทุนใดๆ แต่จากการติดตามข่าวสารของ เครือข่ายฯล่าสุดกลับพบว่า แม้จะมีข้อทักทวงจากทุกภาคส่วน แต่ กสทช.ชุดปัจจุบันที่รับไม้ต่อมาจากกสทช.ชุดรักษาการก่อนหน้า ยังคงมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าพิจารณาการควบรวมกันต่อไป ด้วยนำเอาข้ออ้างข้อจำกัดด้านกฎหมาย และประกาศ กสทช.ที่ใช้บังคับอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เมื่อกลุ่มทุนสื่อสารรายเดียวกันมีความพยายามที่จะดำเนินการควบรวมกิจการ จะกำกับดูแลและพิจารณาสั่งห้ามการควบรวมกิจการที่จะส่งมลเสียต่อผู้ใช้บริการและผลประโยชน์สาธารณะ
ดังนั้น ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมาย และประกาศ กสทช.ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ทำให้ภาคประชาชนเต็มไปด้วยความกังวลว่า หาก กสทช.ยังปล่อยให้สองค่ายมือถือดำเนินการควบรวมกิจการกันไปโดยไม่มีการคัดค้านใดๆ หรือยังคงอ้างแต่ข้อจำกัดทางกฎหมายและประกาศกสทช.ที่ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนและประเทศชาติคงถูกลิดรอน และอุตสาหกรรมโทรคมของประเทศมีแนวโน้มที่จะเจริญรอยตามธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งของประเทศในเวลานี้ที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มทุนครบวงจรอีกเช่นเคย
ดังนั้น เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรดมนาคมแห่งชาติ หรือ "กสทช."ชุดใหม่นี้ ได้ลุกขึ้นมาทำหน่าที่กำกับดูแลการแข่งขันให้สมกับบทบาท ภาระหน้าที่ขององค์กรที่ต้องยึดมั่นในหลักการเสรี และเป็นธรรม ปราสจากการครอบงำของกลุ่มทุนใด ๆ เพราะการปกปักษ์ผลประโยชน์สาธารณะเท่านั้น จึงจะเป็นเกราะกำบังปังกันการปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้องค์กร กสทช. ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่เสื่อมเสียได้
แต่หากผลประโยชน์สาธารณะของประราชนต้องถูกลิดรอนไป เชื่อแน่ว่าหน่วยงานกำกับดูแลกสทช.ก็คงจะถูกตราหน้าว่าสร้างผลงาน "ชิ้นโบดำ" ให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศตามมาอย่างแน่นอน
เครือข่ายประชาชนฯ บุก กสทช. ยื่นหนังสือค้านควบรวมทรู-ดีแทค
เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะ (ปปณ.) ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงศาสตราจารย์คลินิก สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า จากกรณีที่สองบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่"ทรู" และ "ดีแทค" จะดำเนินการควบรวมกิจการ และร่วมจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยี คอมปานีในระดับภูมิภาคท่ามกลางกระแสวิพากษ์จากนักวิชาการในทุกภาคส่วน ภาคประชาชน และองค์กรผู้บริโภค ที่ต่างแสดงความเป็นกังวลการควบรวมกิจการที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับประชาชนผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะ
เนื่องจาก ข้อมูลจากการศึกษาของ กสทช.เองระบุว่าในปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 141 ล้านเลขหมายโดยมีผู้ใช้บริการผ่าน 3 ผู้ให้บริการรายใหญ่ คือ เอไอเอส ทรูและ ดีแทค จำนวน 132 ล้านเลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงถึงร้อยละ 93 จึงทำให้ตั้ง3 รายจัดเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือตลาด ดังนั้น หากมีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่อันดับ 2 และ 3 จะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ สุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นตลาด Duopoly ที่มีผู้ให้บริการผูกขาดเหลือยู่เพียง 2 รายอย่างถาวร ผู้บริโกคมีแนวโน้มจะถูกเอาเปรียบ ไม่มีหนทางเลือก และท้ายที่สุดอัตราค่าบริการมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
ขณะเดียวกัน ผลศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้ว่าจ้างให้ดำเนินการศึกษาเพิ่มเดิมล่าสุด มีการรายงานเป็นเอกสารยืนยันเช่นกันว่า หากผู้เล่นในตลาดลดลงจาก 3 รายเหลือเพียง 2 ราย โดยทั้ง 2 รายเป็นรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกว่า45% ก็มีความเป็นไปได้ว่า ค่าบริการในระยะยาวจะแพงขึ้น 20-30% เพราะผู้บริโภคไม่มีทางเลือกในการใช้งาน
ก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคได้บทเรียนอันบอบช้ำจากการที่หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าได้ปล่อยให้มีการควบรวมธุรกิจค้าปลีก- ค้ารายใหญ่ของประเทศ จนทำให้กลุ่มทุนยักษ์ค้าปลีก-ค้าส่งของประเทศสามารถกุมอำนาจเหนือตลาดใด้อย่างเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ตันน้ำยันปลายน้ำ ทำให้ปัจจุบันประชาชนคนไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตราคาสินค้าข้าวของแพงทั้งแผ่นดินเพราะตลาดค้าปลีก-ค้าส่งถูกผูกขาดปราศจากการแข่งขัน
โดยที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนต่างคาดหวังว่ากสทช.ชุดใหม่จะเข้ามาปฏิรูปบทบาท อำนาจหน้าที่ขององค์กร กสทช. ในการเป็นองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจารโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากการ ชี้นำหรือครอบงำขององค์กร หรือกลุ่มทุนใดๆ แต่จากการติดตามข่าวสารของ เครือข่ายฯล่าสุดกลับพบว่า แม้จะมีข้อทักทวงจากทุกภาคส่วน แต่ กสทช.ชุดปัจจุบันที่รับไม้ต่อมาจากกสทช.ชุดรักษาการก่อนหน้า ยังคงมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าพิจารณาการควบรวมกันต่อไป ด้วยนำเอาข้ออ้างข้อจำกัดด้านกฎหมาย และประกาศ กสทช.ที่ใช้บังคับอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เมื่อกลุ่มทุนสื่อสารรายเดียวกันมีความพยายามที่จะดำเนินการควบรวมกิจการ จะกำกับดูแลและพิจารณาสั่งห้ามการควบรวมกิจการที่จะส่งมลเสียต่อผู้ใช้บริการและผลประโยชน์สาธารณะ
ดังนั้น ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมาย และประกาศ กสทช.ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ทำให้ภาคประชาชนเต็มไปด้วยความกังวลว่า หาก กสทช.ยังปล่อยให้สองค่ายมือถือดำเนินการควบรวมกิจการกันไปโดยไม่มีการคัดค้านใดๆ หรือยังคงอ้างแต่ข้อจำกัดทางกฎหมายและประกาศกสทช.ที่ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนและประเทศชาติคงถูกลิดรอน และอุตสาหกรรมโทรคมของประเทศมีแนวโน้มที่จะเจริญรอยตามธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งของประเทศในเวลานี้ที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มทุนครบวงจรอีกเช่นเคย
ดังนั้น เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรดมนาคมแห่งชาติ หรือ "กสทช."ชุดใหม่นี้ ได้ลุกขึ้นมาทำหน่าที่กำกับดูแลการแข่งขันให้สมกับบทบาท ภาระหน้าที่ขององค์กรที่ต้องยึดมั่นในหลักการเสรี และเป็นธรรม ปราสจากการครอบงำของกลุ่มทุนใด ๆ เพราะการปกปักษ์ผลประโยชน์สาธารณะเท่านั้น จึงจะเป็นเกราะกำบังปังกันการปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้องค์กร กสทช. ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่เสื่อมเสียได้
แต่หากผลประโยชน์สาธารณะของประราชนต้องถูกลิดรอนไป เชื่อแน่ว่าหน่วยงานกำกับดูแลกสทช.ก็คงจะถูกตราหน้าว่าสร้างผลงาน "ชิ้นโบดำ" ให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศตามมาอย่างแน่นอน