ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย นำทีมถ่ายทอดวิทยายุทธอบรมแก่เกษตรกร อย่่างครบวงจร ฟรี หวังเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรผู้ปลูก
อบรมฟรี ไม่มีที่ไหน จัดเพื่อเกษตรกรแบบไม่มีกั๊ก โดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลไม้ วช จับมือ สถานความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ม.นเรศวร อบรมการผลิต องุ่นไชน์มัสแค้ทเชิงพาณิชย์ โดยมี รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท นำทีมบรรยายเรื่อง การผลิตองุ่น ไซน์มัสแค้ทภาคเหนือตอนล่าง พร้อมด้วย ดร.ชินพันธ์ ธนารุจ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บรรยายเรื่อง การผลิตองุ่นไซน์มัส
แค้ทเชิงการค้า การผลิตแบบประณีต รศ.ดร.อำไพวรรณภราดร์นุวัฒน์ บรรยายเรื่อง โรคและการป้ิองกันกำจัดขององุ่น คุณวรเชษฐ์
ขัติยะ บรรยายเรื่องการปลูกองุ่นมืออาชีพจากประสบ
การณ์โดยตรง และผศ.ดร.สุขสวัสดิ์ พลพินิจ บรรยายเรื่องการป้องกันกำจัดแมลงในองุ่น ปิดท้ายด้วยการลงพื้นที่ศึกษาดูงานแปลงปลูกไซมัสแคท เมื่อวันที่ 15 มิย ที่ห้องประชุม คณะวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยนเรศวรโดยได้รับความสนใจจากเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรมทั้งทาง
ออนไซต์และออนไลน์ ประมาณ 200 คน
รศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผอ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลไม้ วช. เปิดเผยว่า องุ่นไซน์มัส
แค้ทถูกปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2531 ที่ญี่ปุ่น ขึ้นทะเบียนพันธุ์ในปี2549 มีลักษณะเด่น ผล
กลม ขนาดใหญ่ ผิวสีเขียวอ่อนสวยงาม เนื้อแน่นไม่แตกง่าย กรอบหวาน อร่อย ไม่ฝาด ทนร้อนหนาวได้ดีที่สำคัญรสหวานละมุนลิ้น ปราศจากเมล็ด กลายเป็นองุ่นยอดนิยมราคาแพงตกกิโลกรัมละ 2,000-5,000 บาท จนมีคำเปรียบเปรยว่า คนซื้อไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ซื้อ นิยมมอบเป็นของขวัญล้ำค่า
ทั้งนี้ วช.ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาไซน์มัสแค้ทตั้งแต่ปี 2562 เริ่มจากการนำคณะเดินทางไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อนำเทคนิคการปลูกองุ่นไซน์มัสแค้ทมาดำเนินการในประเทศไทย โดยทีมงานได้ศึกษาขั้นตอนการปลูก การดูแลบำรุงรักษาจากประเทศเจ้าของสายพันธุ์มาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย จนกระทั่งได้สูตรสำเร็จตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของสี ลักษณะผล สามารถได้องุ่นไชน์มัสแค้ทไร้เมล็ด ทดลองปลูกที่พิษณุโลก เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และตาก ได้ผลเป็นที่น่าพอใจและดีกว่าการผลิตในญี่ปุ่นซึ่งมีผลผลิตปีละครั้ง ขณะที่ประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง จนเป็นกรณีศึกษาทำให้ปัจจุบันญี่ปุ่นมีกฏหมายเข้มข้นห้ามนำพันธุ์พืชออกนอกประเทศ เพราะได้รับบทเรียนจากการที่ประเทศไทยสามารถนำไชน์มัสแค้ทจากญี่ปุ่นมาปลูกได้ผลดี
รศ.ดร. พีระศักดิ์กล่าวว่า ปัจจุบันจากการทดลองปลูกไซน์มัสแค้ทได้ในหลายพื้นที่ทำให้ทราบปัญหาและมีองค์ความรู้จนมีการจัดอบรมฟรีถ่ายทอดความรู้ในการผลิตไซน์มัสแค้ทเชิงพาณิชย์ให้แก่ผู้สนใจ โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก วช .
“ ข้อดีคือ ไซมัสแค้ท ให้ผลผลิตเร็ว ใช้เวลาเพียง 8 เดือน ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ แต่จะยากหน่อยในภาคใต้ ขณะนี้มีผู้สนใจปลูกกันแพร่หลายแต่ราคายังแตกต่างกัน ทีีเชียงใหม่ขายกิโลกรัมละ1200 บาท ที่ลำปางกิโลกรัมละ500 บาท และจะต้องพัฒนาในเรื่องของ ขนาด ความกรอบ กลิ่นและรสชาติต่อไป ขอแนะนำว่าพื้นที่เพาะปลูกสำหรับเกษตรกรไม่เกิน 1 งานต่อคน จะได้ผลผลิตตอบแทนปีละ3 แสนบาท เพียงพอต่อการดูแล ได้ง่าย ทั่วประเทศปลูกไม่เกิน 5,000 ไร่ เพราะเป็นผลไม้ที่มีมูลค่าสูง ซึ่งในอนาคตข้างหน้าการนำผลไม้พันธุ์ใหม่เข้ามาจากต่างประเทศจะยากขึ้น เช่น ญี่ปุ่นและไต้หวันออกกฎหมายเข้มงวดการนำเข้าออกพืชพันธ์มากขึ้น สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ หันมาทำวิจัยพัฒนาผลไม้ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องให้มากขึ้นโดยมีการสนับสนุนทุนวิจัย ระยะ5ปี “