About Me

header ads

เบ่งกล้ามไทย คว้า 4 ทอง เพาะกายเอเชีย วันแรก


    ไทยประเดิม 4 เหรียญทอง ในศึกเพาะกายชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 55 วันแรก เริ่มจาก “ยนต์” จีรพันธ์ โป่งคำ แชมป์ซีเกมส์ 3 สมัย และอีก 3 ทองมาจากดาวรุ่งเยาวชนสาวไทย กันติชา สีจันทร์, จินตรามณฑ์ ทวีเมธีโชติ และสายใจ สุสมแก้ว 


     การแข่งขันกีฬาเพาะกายและฟิตเนสชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 55 เปิดฉากขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ที่ ลัลบา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล โดยพิธีเปิดการแข่งมี พณฯ นารายัน คาจิ เชรษฐา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในประเทศเป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมด้วยดาโต๊ะพอล ชัว ประธานสหพันธ์กีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งเอเชีย, นายศุกรีย์ สุภาวรีกุล เลขาธิการสหพันธ์กีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งเอเชียและ นายราเชษฐ์ บาบู เชรษฐา นายกสมาคมกีฬาเพาะกายของประเทศเนปาลร่วมในพิธีเปิดการแข่งขันในครั้งนี้

    การแข่งขันกีฬาเพาะกายและฟิตเนสชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 55 ในวันแรกแข่งขัน 16 รุ่น มีนักกีฬาไทยเข้าร่วมการแข่งขันและ สามารถ ประเดิมคว้าเหรียญทองไปครอง เริ่มจาก เพาะกายชาย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 60 กก.“ยนต์” จีรพันธ์ โป่งคำ แชมป์ซีเกมส์ 3 สมัยได้อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 เป็นของนักกีฬาจากเนปาลทั้งสองคน

   เหรียญทองเหรียญต่อมามาจาก ฟิตเนสเยาวชนหญิง อายุไม่เกิน 21 ปี กันติชา สีจันทร์ ได้อันดับที่1 จินตรามณฑ์ ทวีเมธีโชติ  ได้อันดับที่2 พรชนก เชียงพรหม ได้อันดับที่5 ส่วนอันดับที่ 3 และ 4 เป็นของนักกีฬาจากเวียดนาม






    เหรียญทองเหรียญที่ 3 มาจาก แอธเลติกฟิสิคยุวชนหญิง อายุ 15-18 ปี อันดับที่ 1 เป็นของจินตรามณฑ์ ทวีเมธีโชติ อันดับที่ 2 เป็นของ รพิชา เยาวนารถ และอันดับที่ 3 เป็นของ พรชนก เชียงพรหม

    เหรียญทองเหรัยญที่ 4 โมเดลเยาวชนหญิง อายุไม่เกิน 21 ปี สายใจ สุสมแก้ว ได้อันดับที่ 1 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3 เป็นของนักกีฬาจากเวียดนาม ทั้ง 2 คนโดย กันติชา สีจันทร์ ได้อันดับที่ 4 และอันดับที่ 5 เป็นของนักกีฬาจากอินเดีย

    เหรียญเงิน ฟิตเนสหญิง รุ่นความสูงไม่เกิน 165 ซม.

ศิริพร ศรช่วย ได้อันดับที่ 2 โดยอันดับที่ 1 เป็นของนักกีฬาจากเวียดนาม อันดับที่ 3 เป็นของฮ่องกง และ จินตรามณฑ์ ทวีเมธีโชติ ได้อันดับที่4 อันดับที่ 5 เป็นนักกีฬาจากคาซัคสถาน

    ฟิตเนสหญิง รุ่นความสูงเกิน 165 ซม.พันจ่าอากาศเอกหญิงอาจารี แท่นทรัพย์ ได้อันดับที่ 2 โดยอันดับที่ 1 เป็นของเวียดนาม และกันติชา สีจันทร์ ได้อันดับที่ 3

   เพาะกายชายมาสเตอร์ อายุ 40-49 ปี สุรศักดิ์ ปานเรือง ได้อันดับที่ 2 โดยอันดับที่ 1 เป็นของนักกีฬาจาก อุซเบกิสถาน อันดับที่ 3 เป็นของนักกีฬาจากอินเดีย โดย .“หลุน” อิทธิพัทธ์ ประทีป ได้อันดับที่ 4 และอันดับที่ 5 เป็นของนักกีฬาจากอินเดียอีกเช่นกัน

   เพาะกายชายมาสเตอร์ อายุเกิน 60 ปี สุวิจักขณ์ พินทุสรชัย คว้าอันดับที่ 2 โดยอันดับที่ 1 เป็นของนักกีฬาจากอินเดีย และอันดับที่ 3 เป็นของนักกีฬาจากอินเดียเช่นกัน

   เหรียญทองแดง เพาะกายเยาวชนชาย น้ำหนักเกิน 75 กก

บารานคาน ปาทานสิราสวัสดิ์ ได้อันอันดับที่ 3 อันดับที่1 เป็นของเนปาล และอันดับที่2 อินเดีย

   เพาะกายชายมาสเตอร์ รุ่น อายุ 50-60 ปี สมคิด สุเมโธเวชกุลได้อันดับที่ 3 โดยอันดับที่1 เป็นของ มาเลเชีย และอันดับที่ 2 เป็นของนักกีฬาจากเกาหลีใต้ อันดับที่ 4 เป็นของนักกีฬาจากอินเดีย โดย เกษม ศิริโสต นักกีฬาของไทยอีกคนได้อันดับที่ 5 

    ส่วนผลอื่นๆ เพาะกายเยาวชนชาย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 75 ก.ก. ชลกานต์ จำปานิล ได้อันดับที่ 4 ทัตเทพ เงือกงาม ได้อันดับที่ 5 อันดับที่ 1 เป็นของนักกีฬาจากอินเดิย อันดับที่ 2 เมียนมาร์ และอันดับที่ 3 เวียดนาม

   เพาะกายชาย น้ำหนักไม่เกิน 65 กก. สุรศักดิ์  ปานเรือง ได้อันดับที่ 4 โดยอันดับที่1เป็นของนักกีฬาจากอินเดีย อันดับที่ 2 เป็นของนักกีฬาจากเนปาล และอันดับที่ 3 จากมาเลเซีย

   เพาะกายชาย น้ำหนักไม่เกิน 70 กก. สมคิด สุเมโธเวชกุล ได้อันดับที่4 โดยอันดับที่1เป็นของ อินเดีย อันดัยที่ 2 เมียนมาร์ แลัอันดับที่ 3 มาเลเซีย

   โมเดลฟิสิค (ชุดว่ายน้ำ) พันจ่าอากาศเอกหญิง อาจารี แท่นทรัพย์ ได้อันดับที่ 4 โดยอันดับที่ 1 เป็นของเนปาล อันดับที่ 2 นักกีฬาจากฺฮ่องกง และอันดับที่ 3 นักกีฬาจากเกาหลีใต้

     สรุปการแข่งขันในวันแรกทัพนักกีฬาเพากายไทยทำได้ 4 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง

    สำหรับในวันที่ 5 ก.ย.ซึ่งจะเป็นการแข่งขันวันที่สองจะมีนักกีฬาทีมชาติไทยลงทำการแข่งขันใน 20 รุ่นการแข่งขัน โดยเริ่มรอบคัดเลือกในช่วงเช้าและชิงชนะเลิศในช่วงบ่ายวันเดียวกัน