About Me

header ads

วิศาล มหชวโรจน์ อุทธรณ์-ฎีกา

 ดร.เกษม ศุภสิทธิ์ ทนายความ(อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา)ในฐานะที่เป็นทนายความของ นายวิศาล มหชวโรจน์



(ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย ประธานกรรมการอำนวยการ โรงพยาบาล กรุงเทพคริสเตียน และประธานกรรมการอำนวยการ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) เปิดเผยว่า คดีนี้สืบเนื่องจาก นายศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ โจทก์ที่ 1 นายวัชรพงศ์ อภิญญานุรังสี โจทก์ที่ 2 ร่วมกันยื่นฟ้องนายวิศาล มหชวโรจน์ จำเลย ในข้อหาหมิ่นประมาท กรณีให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์กรณีการจัดซื้อโรงเรียนบึงกาฬพิทักษ์ศึกษาของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยและการจัดซื้อโครงการต่างๆของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นคดีอาญาจำนวน 2 คดีคือคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2996 / 2562 และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 582 / 2563 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ศาลอาญากรุงเทพได้มีพิพากษายกฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์จำเลยแล้วข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่ตามคำฟ้องจำเลยได้กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว 3 สำนัก เนื้อความที่ให้สัมภาษณ์เป็นการกล่าวถึงโครงการบีซีซี สเปซ โปรแกรม (BCC Space Program) และโครงการจัดซื้อโรงเรียนบึงกาฬพิทักษ์ศึกษาและที่ดินโดยรอบ  และกล่าวถึงเรื่องการสอบสวนข้อเท็จจริง โจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับ 2 โครงการดังกล่าว  และผลการสอบว่ามีการปลดโจทก์ที่ 1 จากตำแหน่งผู้อำนวยการและไล่โจทก์ที่ 2 จากตำแหน่งผู้จัดการของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  ต่อมาสำนักข่าวทั้งสามนำเนื้อความที่จำเลยให้สัมภาษณ์ไปลงในเวปไซต์สำนักข่าวของตน  กรณีมีปัญหาให้พิจารณาว่าจำเลยได้กระทำผิดตามคำฟ้องหรือไม่  


กรณีจึงรับฟังได้ว่าก่อนการให้สัมภาษณ์ของจำเลยจนถูกฟ้องเป็นคดีความมีการนำเสนอข้อเท็จจริงในส่วนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยผ่านสื่อสังคมออนไลน์  เมื่อข้อความที่จำเลยให้สัมภาษณ์ไม่ระบุชื่อโจทก์ทั้งสอง  ไม่มีการกล่าวว่าโจทก์ทั้งสองกระทำการที่เป็นการทุจริต  บุคคลที่ได้รับทราบข้อความในการสัมภาษณ์จากสื่อสังคมออนไลน์หากเป็นบุคคลทั่วไปย่อมไม่อาจทราบได้ว่าหมายถึงโจทก์ทั้งสอง  ผู้ที่สามารถทราบได้จะต้องเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนโดยตรง  และโดยเฉพาะยังต้องเป็นผู้ที่ติดตามรับรู้ข่าวสารในเรื่องความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนเท่านั้น  การให้สัมภาษณ์ของจำเลยจึงถือเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต  เป็นการปกป้องหน่วยงาน  องค์กรที่จำเลยเองมีประโยชน์ส่วนเกี่ยวข้อง  ป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียเกี่ยวด้วยตนตามอำนาจหน้าที่และตามคลองธรรมแล้ว จำเลยจึงไม่เป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 (1) ตามคำฟ้อง  พิพากษายกฟ้อง  ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนแพ่งให้เป็นพับ “  ทั้งนี้คดียังไม่ถึงที่สุดและฝ่ายโจทก์ก็มีสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์และฎีกาต่อไป