About Me

header ads

ประชุมพืชสวนระดับนานาชาติ International Horticultural Congress (IHC2022)

 รองศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์ประจ าภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะ เกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยนักศึกษาปริญญาเอก เข้า ร่วมงานประชุมพืชสวนระดับนานาชาติ International Horticultural Congress (IHC2022)







ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 14-20 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุม เมืองเมืองอ็องเฌ ประเทศฝรั่งเศส (Congress Center, Angers-France) โดยร่วมน าเสนองานวิจัยแบบปากเปล่า (Oral presentation) 3 เรื่อง และน าเสนอ แบบอิเล็กทรอนิกส์โปสเตอร์ (E-Poster presentation) 1 เรื่อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ Oral presentation 

1) สตรอว์เบอร์รีลูกผสมใหม่ 2 สายพันธุ์: การปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รีเพื่อเพิ่มปรมิ าณสาร แอนโทไซยานินส าหรับการบรโิ ภค 

Two new hybrids strawberry cultivars: Breeding strawberry to increase fruits phytochemical contents for health consumption 

สตรอว์เบอร์รีเป็นผลไม้ที่รู้จักกันทั่วโลก และในผลยังอุดมไปด้วยสารส าคัญที่เป็นประโชน์ต่อผู้บริโภค 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในบริเวณผิวผล โดยสารนี้มีคุณสมบตั ิหลัก คือ เป็นสาร ต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยในป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง ดังนั้นจึงท าให้ผู้บรโิ ภคมีความต้องการที่จะบริโภคผลสตรอว์เบอร์รมี ากยิ่งขึ้น แต่ปัญหาหนึ่งพบว่า สตรอว์เบอร์ รีในประเทศไทยที่ปลูกเป็นการค้ายังคงมีปริมาณสารแอนโทไซยานินที่ไม่สูงมากนัก ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นปัญหา ดังกล่าวจึงได้ท าการปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รีเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีปริมาณสารแอนโทไซยานินที่สูงขึ้น โดย ใช้ระยะเวลาในการด าเนินงานตลอดโครงการทั้งสิ้น 5 ปี พบว่า สามารถคัดเลือกสตรอว์เบอร์รีลูกผสมทีมี ศักยภาพดังกล่าวได้ 2 ต้น (2 สายพันธุ์) โดยสตรอว์เบอร์รีลูกผสมสายพันธุ์ที่ 1 เกิดจากการผสมระหว่าง พันธุ์ พระราชทาน 80 และพันธุ์ 329 และสตรอว์เบอร์รีลูกผสมสายพันธุ์ที่ 2 เกิดจากการผสมระหว่าง พันธุ์ พระราชทาน 80 และพันธุ์ Akihime จากการศึกษาวิจัยพบว่า สตรอว์เบอร์รีลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ มีลักษณะ ดีเด่นกว่าสายพันธุ์พ่อแม่ โดยมีปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมดเฉลี่ย 41-52 mg/100g FW ปริมาณสารไซ ยานิดิน-3-กลูโคไซด์ และเพลาโกนิดิน-3-ไกลโคไซด์เฉลี่ย 20-30 mg/kg FW และ 484-555 mg/kg FW ตามล าดับ นอกจากนี้สตรอว์เบอร์รีลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ยังคงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและ FRAP สูงเฉลี่ย 2131-2265 mg GAE/kg FW และ 22-24 mmol Fe2+/kg FW ตามล าดับ นอกจากนี้ลักษณะ ทางด้านเคมีกายภาพอื่นๆ ของสตรอว์เบอร์รีลูกผสมดังกล่าวยังคงดีกว่าสายพันธุ์พ่อแม่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สต รอว์เบอร์รีลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรในประเทศไทยปลูกเพื่อเชิงการค้า ต่อไป 

   

2) การศึกษาผลของรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงน ้าดอกไม้สีทอง Effects of X-ray and Gamma ray Irradiation on the Physico-chemical Qualities of Mango cv. Nam Doc Mai Si Thong (Mangifera indica L.) 

มะม่วงน ้าดอกไม้สีทองเป็นมะม่วงพันธุ์หลักที่ผลิตในประเทศไทย เมื่อสุกจะมีรสหวานเนื้อละเอียด 

และสีผิวสีทองสวยงามเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ แต่การส่งออกมะม่วงไปจ าหน่ายยังบาง ประเทศนั้นจะต้องผ่านกรรมวธิ ีสุขอนามัยพืช เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของแมลงศตั รพู ืช โดยเฉพาะประเทศ อเมริการจะต้องมีการฉายรังสีมะม่วงก่อนน าเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ส่งออกไทยประสบปัญหาการฉายรังสีมะม่วง แล้วผลมะม่วงสูญเสียคุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการ จัดการหลังการเก็บเกี่ยวก่อนการฉายรังสี และผลของรังสีที่มีต่อคุณภาพผลมะม่วงน ้าดอกไม้สีทอง โดยผลการ ทดลองพบว่า การคัดเลือกมะม่วงที่มีความแก่ 80% น ามาจุ่มน ้าร้อนร่วมกับสารป้องกันก าจัดเชื้อราก่อนการ ฉายรังสีตามข้อก าหนดการส่งออก สามารถควบคุมการเกิดโรคได้ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา รวมทั้งผล มะม่วงเมื่อผ่านการฉายรังสีแล้วยืดอายุการเก็บรกั ษาได้นาน 12 วัน โดยที่คุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 

3) อิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศและการฉายรังสีแกมมาเพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วง ไทยพันธุ์น ้าดอกไม้สีทอง 

Integrated Effects of Modified Atmosphere Packaging and Gamma Irradiation on Shelflife Extension of Thai Mango cv. Nam Doc Mai Si Thong (Mangifera indica L.) 

มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีปริมาณการส่งออกเป็นจ านวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะมะม่วงน ้าดอกไม้สีทอง 

ซึ่งส่งออกไปยังหลากหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย เป็นต้น การส่งออก มะม่วงไปยังสหรัฐอเมริกาผลมะม่วงจะต้องผ่านการฉายรังสีตามข้อก าหนด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ แมลงศัตรูพืช อย่างไรก็ตาม มะม่วงฉายรังสีนั้นมีอายุการเก็บรักษาสั้น (เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง) ประมาณ 7 วัน ส่งผลให้มะม่วงน ้าดอกไม้ไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดปลายทางเป็นระยะเวลานานได้ งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการยืดอายุเก็บรักษาของมะม่วงฉายรังสีด้วยวิธีการดัดแปลงบรรยากาศ โดยใช้ถุง ชนิด White Ethylene-absorbing Bag (WEB) พบว่ามะม่วงฉายรังสีบรรจุด้วยถุงชนิด WEB มีอายุการเก็บ รักษาเพิ่มขึ้นเท่ากับ 24 วัน ขณะที่มะม่วงฉายรังสีไม่บรรจุถุงมีอายุต ่ากว่า 15 วัน ที่อุณหภูมิ 13-15 องศา เซลเซียส จึงสรุปได้ว่ามะม่วงฉายรังสีบรรจุด้วยถุงชนิด WEB ชะลอกระบวนการสุกของผลมะม่วงน ้าดอกไม้ สีทองฉายรังสีได้เป็นอย่างดี และยังเป็นจุดเริ่มตน้ ในการน าไปประยุกตใ์ ช้ในการส่งออกทางเรือเชิงพาณิชย์ E-Poster presentation 

4) การตรวจสอบคุณภาพแบบไม่ทา ลายผลผลิตและการศึกษาผลของการใช้กระบวนการแปรรปู ดว้ ย ความดันสูงต่อคุณภาพทางจุลชีววิทยา คุณสมบัตทิ างเคมี กายภาพของน ้ามะพรา้ วน ้าหอม  Non-destructive quality determination and effect of high-pressure processing on the microbial and physicochemical quality of young aromatic coconut (Cocos nucifera L.) water. 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบคุณภาพมะพร้าวน ้าหอมโดยไม่ท าลายผลผลิต

และพัฒนากระบวนการแปรรูปน ้ามะพร้าวน ้าหอมพร้อมดื่มด้วยกระบวนการความดันสูง (High Pressure Processing; HPP) ที่สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรค และศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษา ผลการศึกษา พบว่า เทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี (NIRs) สามารถน ามาใช้ในคัดแยกคุณภาพชั้นเนื้อและความหวาน (ปริมาณของแข็งที่ละลายน ้าได้) ของมะพร้าวน ้าหอมได้โดยไม่ตอ้ งท าลายผลผลิต มีความแม่นย ามากถึง 88% ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ของการใช้ NIR ในการเลือกวัตถุดิบตั้งต้นที่ดีในการผลิตน ้ามะพร้าวน ้าหอมพร้อมดื่ม ส าหรับการแปรรูปน ้ามะพร้าวน ้าหอมพร้อมดื่มดว้ ย HPP นั้น พบว่า การแปรรูปที่สภาวะความดัน 600 MPa เป็นเวลา 3 นาที ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคได้ โดยไม่ ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพของน ้ามะพร้าว สามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิ 2-5 องศาเซลเซียส นาน มากกว่า 10 สัปดาห์